วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคอมพิวเตอร์และฮาร์แวร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์
      ความหมายของคอมพิวเตอร์คือ คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 
       ความหมายของฮาร์ดแวร์คืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้




ขอบคุณที่มาจาก

www.rayongwit.ac.th/computer50/web-m2-wed/g15m2wed/hardw.htm

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1.    ฮาร์ดแวร์     2.    ซอฟแวร์     3.    บุคลากรคอมพิวเตอร์    4.    ข้อมูล

องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน4หน่วยคือ

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

  • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)

  • หน่วยแสดงผล (Output Unit)
  • หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล  เป็นหน่วยเริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะ มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ  เข้าไปในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
              อุปกรณ์รับข้อมูลของหน่วยรับข้อมูล  มีหลายชนิด  เช่น    แป้นพิมพ์  เมาส์  เครื่องสแกน  จอยสติก จอสัมผัส  แต่ทุกชนิดทำหน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมือนกัน
              อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูล แต่ละชนิดมีวิธีการนำเข้าข้อมูล หรือรับคำสั่ง ตลอดจนลักษณะของรูปแบบข้อมูลที่นำเข้าต่างกัน
    หน่วยประมวลผล  หน่วยประมวลผล นิยมเรียกว่า ซีพียู  ซึ่งย่อมาจาก Central Processing Unit : CPU บางครั้งเรียกว่า โปรเซสเชอร์

    หน่วยการทำงานที่สำคัญ 2  ส่วน  คือ   
      หน่วยคำนวณและตรรกะ    
                        หน่วยคำนวณและตรรกะ    ทำหน้าที่  ใน การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์  และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูล
     หน่วยควบคุม                  หน่วยควบคุม  ทำหน้าที่ประสานงาน และ ควบคุม  การทำงานของคอมพิวเตอร์  โดยจะทำงานประสานกับหน่วยความจำหลัก
    และหน่วยคำนวณและตรรกะ
    น่วยความจำหลัก  มีหน้าที่ เก็บข้อมูลต่าง ๆ  ตลอดจนโปรแกรมต่าง  ๆ  ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลหรือซอฟแวร์ที่เก็บไว้ ในหน่วยความจำหลักจะหายหมด   
                            หน่วยความจำหลัก  ต้องอาศัย กระแสไฟฟ้าในการทำงาน  ถ้ากระแสไฟฟ้าไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่เก็บไว้ก็จะหายทั้งหมด 
     หน่วยความจำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม  เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ    หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้  ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง
                 นอกจากนี้ หน่วยความจำรอง  สามารถเพิ่มขนาดความจุได้ เนื่องจากหน่วยความจำหลักจะมีขนาดความจุจำกัด
                 หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้
                หน่วยประมวลผลจะเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง  ได้จะช้ากว่า หน่วยความจำหลัก
    ตัวอย่าง หน่วยความจำรอง
        ฮาร์ดิส               แฮนดี้ไดส์              แผ่นดิส์                       
    mp 4             

    หน่วยส่งออก
           คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วยแสดงผล หน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์คือ จอภาพ (monitor) ลำโพง (speaker) และเครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกัน เพราะคอมพิวเตอร์อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้
    จะแบ่งออกเป็น หน่วยส่งออกชั่วคราวหน่วยส่งออกถาวร
    ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์

                จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ
    แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และกว่า

    เคสเป็นโครงที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ภายในต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน อุปกรณ์ที่มักจะใส่ไว้ในเคสก็เป็นพวก เมนบอร์ด(Mainboard) แรม(RAM) การ์ดจอ(VGA Card) ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Drive) พาวเวอซัพพลาย(Power Supply) เป็นต้น มีหลายแบบ หลายสีให้เลือกใช้ตามความพึงพอใจของผู้ใช้
    ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษhard disk drive) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
    การ์ดแลนด์ มีการนำมาใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC นานร่วม 15 ปี มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารและรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเมนเฟรม และ เครื่องไมโคคอมพิวเตอร์ ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย
     สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอ์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้ 
                - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
                - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
                - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
                - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ

    ประเภทของคอมพิวเตอร์

          แบ่งตามความสามารถของระบบ จำแนกออกได้เป็น 5ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

    1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

    ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
    อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้

    คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
         แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้        จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD)        น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

    โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน
    กับแล็ปท็อป
          ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง        เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน        บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
    2. สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)

    ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
    บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร
    การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้
    สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที
    3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)

    มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
    มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร

    4. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก
    เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
    บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด
    ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม
    5. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ
    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน
    การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์Tongue out

         คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคือ อย่างไรเช่นในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณ ควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร  มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร    ดังนั้นห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็น ห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่น   และความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูง หรือ ตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์  ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ 1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
    2. 
    อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า

    3. 
    อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย

    4. 
    ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

    5. 
    ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

    6. 
    ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น

    7. 
    ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์

    8. 
    ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 
    สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย 1. ความร้อน    ความร้อน ที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของ
    คอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด วิธีแก้ปัญหา
    • 
    พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 
    60-70
        
    องศาฟาเรนไฮต์

     
    ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง

     
    ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ 
    2. ฝุ่น   ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจร
    เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกนอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลาย  หรือฮาร์ดดิสค์  หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้ วิธีแก้ไข 
    • 
    ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
     
    ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด

    • 
    วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก

    • 
    อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ 
    3. สนามแม่เหล็ก     แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมี
    อยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
     
    แม่เหล็กติดกระดาาบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม

    • 
    คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก

    • 
    ไขควงหัวแม่เหล็ก

    • 
    ลำโพง

     
    มอเตอร์ในพรินเตอร์

     UPS 
    วิธีแก้ไข 
    • 
    ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์  


    การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะต่อหม้อแปลงที่เครื่องและต่อจากจอภาพให้เสียบปลั๊กเต้าเสียบให้เรียบร้อย เปิดสวิตซ์สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง (ปุ่มPower) ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะพบว่ามีไฟสีเหลืองติดท่เครื่องคอมพิวเตอร์และที่แป้นพิมพ์ เปิดสวิตซ์จอภาพ หรือบางที่อาจจะติดพ่วงกับจอคอมพิวเตอร์ จะพบตัวอักษรเกิดขึ้นบนจอภาพ ขั้นตอนการใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว การจับแผ่นดิสก์ควรจับบริเวณที่ติดฉลาก ให้ด้านที่มีฉลากหงายขึ้น ดังรูป ใส่แผ่นดิสก์เข้าไปในช่อง Disk Drive A: การนำแผ่นดิสก์ออก ในระหว่างการทำงานจะมีไฟติดอยู่ อย่าเพิ่งนำแผ่นดิสก์ออก ให้กดที่ปุ่มที่ใส่ดิสก์ แผ่นดิสก์จะออกมา ขั้นตอนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้โปรแกรมมี 2 วิธี การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม DOSมีดังนี้ นำแผ่นโปรแกรม DOS มาใส่ใน Drive A: กดปุ่ม Power เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์สักครู่จะปรากฏคำว่า Current Date is Wed 01-01+2000 Enter new date (mm-dd-yy): ให้ตรวจสอบ เดือน/วัน/ปี ปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตรงแล้วให้กด Enter ต่อจากนั้นจะปรากฏข้อความ             Current time 12:12:12a             Enter new time: ให้ตรวจสอบเวลาปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตงให้กด Enter การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดย Hard Disk โดยการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกดปุ่ม Power จะมีการเข้าสู่โปรแกรมหรือเข้าสู่โปรแกรมของรายการเมนูหลักของโปรแกรม ให้เลือกโปรแกรมที่ต้องการ ในโปรแกรม Windows 95 จะเข้าสู่หน้าต่าง Windows 95 แล้วเลือกStart เลือกโปรแกรมที่ต้องการต่อไป วิธีปิดเครื่องคอมพิวเตอร์                1.    ต้องมีการปิดแฟ้มการทำงานและออกจากโปรแกรมใช้งานก่อนเสมอ                                     การปิดเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows 95 มีขั้นตอนดังนี้ เลือกที่ปุ่ม Start เลือก Shut Down จะพบเมนูให้เลือกเลือก Shut Down the Computer เลือก Yes จนกว่าจะปรากฏข้อความว่า "It now safe to turn off your computer" จึงจะปิดเครื่อง Computerได้                 2.    ปิดสวิตซ์จอภาพก่อน                 3.    ปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์                  4.    ดึงปลั๊กสายไฟออกจากเต้า                  5.   ควรมีการปัดฝุ่นบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์                  6.    ให้ใช้ผ้าคลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น